อรรถาธิบาย พระขุนแผนทรงพิมพ์เล็กพรายแม่พุ่มพวง
พระขุนแผนทรงพิมพ์เล็กถือว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างมาก ทรงพิมพ์มีความสูงชัดเจนกว่าพระขุนแผนทั่วๆไป
องค์พระขุนแผนจะอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เกศขององค์จะจรดปลายตัวอักษรขอม ที่เขียนว่า “อุ“
พระหัตถ์ด้านขวาทับซ้ายจรดปลายด้านล่างของพระอุระ นั่งขัดสมาธิดูเป็นระเบียบเรียบร้อย
ด้านใต้ฐานองค์พระจะมีดอกบัวคว่ำและบัวหงาย ด้านล่างของพิมพ์พระมีพรายกุมารนอนอยู่
ทั้งสองข้างมีนางกวัก กวักเงินกวักทองกวักโชคลาภ
ลักษณะเด่นของพระขุนแผนพิมพ์เล็กนี้ จะมีตัวอักษรภาษาขอม เป็นตัวนูนสูงคมชัดเขียนไว้ว่า “มะ อะ อุ“ ซึ่งมีความหมายดังนี้
มะ ย่อมาจาก มหาปุริสะ หรือ พระมหาบุรุษผู้เปี่ยมด้วยบารมีด้วยการบำเพ็ญ 30 ทัศ มีศีลเป็นพื้นฐาน แทนความหมายคือ ศีลอันเป็นบาทแรกแห่งการภาวนาทั้งปวง
อะ ย่อมาจาก อาโลโก หรือแสงสว่าง มีความหมายอันเกิดจากจิตที่เป็นสมาธิ เพราะเป็นสมาธิในขั้นต้นนั้น ต้องปรากฏแสงสว่างอันเรียกว่า สีหรือรัศมี ซึ่งเกิดขึ้นได้จากอำนาจสมาธิ ดังนั้น อะ แทนความหมาย คือ สมาธิอันเป็นบาทที่สอง
อุ ย่อมาจาก อุตมปัญญา ก็หมายถึงปณิธานสูงสุดในพระพุทธศาสนานั้นคือปัญญา
ดังนั้น อักขระทั้ง 3 นี้ ที่นำมาใช้ในขุนแผนนี้จึงมีคุณอนันต์ทางพุทธคุณเป็นอย่างยิ่ง
ด้านหน้า
1. ลักษณะเด่นของพระขุนแผนพิมพ์เล็กนี้ จะมีตัวอักษรภาษาขอม เป็นตัวนูนสูงคมชัดเขียนไว้ว่า “มะ อะ อุ“
2. ด้านใต้ฐานองค์พระจะมีดอกบัวคว่ำและบัวหงาย ด้านล่างของพิมพ์พระมีพรายกุมารนอนอยู่
ทั้งสองข้างมีนางกวัก กวักเงินกวักทองกวักโชคลาภ
ด้านหลัง
1. อักษรไทย "ผึ้ง พา รวย"
2. แถวบนโค้งขึ้น อักษรภาษาขอม 4 ตัว เขียนว่า "สุ นะ โม โล" หรือหัวใจพระขุนแผน
แถวล่างโค้งลง อักษรภาษาขอม 4 ตัว เขียนว่า "นะ ชา ลิ ติ" หรือหัวใจพระสีวลี
3. ตะกรุด จะมีภาษาขอมจารไว้ว่า "นะ ชา ลิ ติ" หรือหัวใจพระสีวลี
4. ประทับอักษรย่อ "พ" มีรัศมีเจิดจรัส
5. อักษรไทย "พรายแม่พุ่มพวง วัดทับกระดาน"
บี พระเครื่อง จัดทำ โดยอาศัยข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่
1 ก.ค. 2558